11.5.54

ทีวีไทย

ดูทีวี ดูทีวีออนไลน์ ดูทีวี ดูทีวีออนไลน์
รายชื่อสถานี โทรทัศน์ในประเทศ ไทย

เนื้อหา:
1. สถานีโทรทัศน์แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย
2. สถานีโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก
3. สถานีโทรทัศน์ผ่านระบบดาวเทียม
4. สถานีโทรทัศน์ประเภทอื่น
5. สถานีโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาค
6. สถานีโทรทัศน์ในอดีต
7. ข้อมูลเพิ่มเติม
8. ดูเพิ่ม
1. สถานีโทรทัศน์แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย
1. 1. สถานีโทรทัศน์ของกองทัพบก

* สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 – ดำเนินการโดย กองทัพบก ในนาม บริษัท อาร์ทีเอ เทเลวิชั่น จำกัด (มหาชน) ออกอากาศในระบบวี เอชเอฟ ช่องสัญญาณที่ 5 (3 ตุลาคม พ.ศ. 2517)

1. 2. สถานีโทรทัศน์ของรัฐวิสาหกิจ

* สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ – ดำเนินการโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ออกอากาศในระบบวีเอชเอฟ ช่องสัญญาณที่ 9 (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545)

1. 3. สถานีโทรทัศน์ที่เอกชนเช่าสัญญาสัมปทาน

* สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 – ดำเนินการโดย บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ออกอากาศในระบบวีเอชเอฟ ช่องสัญญาณที่ 7 (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510)
* สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อสมท – ดำเนินการโดย บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ในกลุ่มบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันออกอากาศในระบบยู เอชเอฟ ช่องสัญญาณที่ 32[1] (26 มีนาคม พ.ศ. 2513)

1. 4. สถานีโทรทัศน์แห่งชาติ

* สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (สทท., NBT) – ดำเนินการโดย กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ออกอากาศในระบบวีเอชเอฟ ช่องสัญญาณที่ 11 (1 เมษายน พ.ศ. 2551)

1. 5. สถานีโทรทัศน์สาธารณะ

* สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย – สถานีโทรทัศน์สาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย ออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ช่องสัญญาณที่ 29 ดำเนินการโดย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) (15 มกราคม พ.ศ. 2551)

1. 6. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ

* โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย – ดำเนินการโดย ช่อง 3 ททบ.5 ช่อง 7 สี และโมเดิร์นไนน์ทีวี (มี สทท.และทีวีไทย เป็นสมาชิกจร) เพื่อร่วมกันแพร่ภาพออกอากาศ เหตุการณ์สำคัญต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ทั้งการถ่าย ทอดสด และเทปบันทึกภาพ (20 ธันวาคม พ.ศ. 2511)

2. สถานีโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก
2. 1. ส่วนกลาง

* สถานีโทรทัศน์เคเบิลทรูวิชั่นส์ – ดำเนินการโดย บริษัท ทรู วิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ออกอากาศด้วยระบบเคเบิล (CAtv) และระบบดาวเทียม (DStv) จำนวนรวมมากกว่า 100 ช่องรายการ (23 มกราคม พ.ศ. 2550)
* สถานีวิทยุโทรทัศน์ไททีวี – ดำเนินการโดย บริษัท ไททีวี วิทยุโทรทัศน์ จำกัด ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ กรมประชาสัมพันธ์ ออกอากาศในระบบ เอ็มเอ็มดีเอส จำนวนทั้งสิ้น 3 ช่องรายการ (เว็บไซต์ ไททีวี)

2. 2. ส่วนภูมิภาค
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้
3. สถานีโทรทัศน์ผ่านระบบดาวเทียม
3. 1. สถานีที่มีจำนวนมากกว่า 1 ช่องรายการ

* สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) – ดำเนินการโดย มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ออกอากาศผ่านดาว เทียมจาก โรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวนทั้งสิ้น 30 ช่องรายการ (5 ธันวาคม พ.ศ. 2538)
* สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอ็นบีที – ดำเนินการโดย สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ออกอากาศผ่านระบบดาวเทียม จำนวนทั้งสิ้น 10 ช่องรายการ
* สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอ็มคอท – ดำเนินการโดย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ออกอากาศผ่านดาว เทียมไทยคม 2 และ ไทยคม 5 และเป็นช่องรายการทางสถานีโทรทัศน์เคเบิลทรูวิชั่นส์ จำนวนทั้งสิ้น 2 ช่องรายการ (9 เมษายน พ.ศ. 2550)
* สถานีโทรทัศน์เอ็มวีทีวี (MVTV) – ดำเนินการโดย บริษัท เอ็มวี เทเลวิชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัทในเครือ บริษัท มูฟวี่ โฮม วิดีโอ จำกัด ออกอากาศผ่านระบบดาวเทียม และส่วนหนึ่งเป็นช่องรายการทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอ็นบีที กับสถานีวิทยุโทรทัศน์ไททีวี จำนวนทั้งสิ้น 8 ช่องรายการ

3. 2. สถานีที่มีจำนวน 1 ช่องรายการ

* สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา (ETV) – ดำเนินการโดย ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กระทรวงศึกษาธิการ เป็นสถานีโทรทัศน์การศึกษาระดับชาติ ออกอากาศผ่านดาวเทียมไทยคม 5 (12 สิงหาคม พ.ศ. 2537)
* สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาผ่านดาวเทียม – ดำเนินการโดย สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ออกอากาศผ่านระบบดาวเทียม และเป็นช่องรายการในสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมเอ็นบีที (ตั้งแต่ กรกฎาคม พ.ศ. 2550)
* ไทยทีวีโกลบอลเน็ทเวิร์ค – ดำเนินการโดย สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (พ.ศ. 2541)
o สถานีโทรทัศน์เพื่อเศรษฐกิจและการเงิน (มันนี่ แชนแนล) – นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการลงทุน
* สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมของกองทัพอากาศ – ดำเนินการโดย สำนักบริหารงานกิจการโทรทัศน์กองทัพอากาศ (สิงหาคม พ.ศ. 2550)
* สถานีประชาชน (พีเพิล แชนแนล) – ดำเนินการโดย บริษัท ดี สเตชัน จำกัด ออกอากาศผ่านระบบดาวเทียม และเป็นช่องรายการในสถานีโทรทัศน์เคเบิลในส่วนภูมิภาค (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552-9 เมษายน พ.ศ. 2553)
* วอยซ์ทีวี – ดำเนินการโดย บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด ออกอากาศผ่านดาวเทียม และทางอินเทอร์เน็ต www.voicetv.co.th (มกราคม พ.ศ. 2551)
* สปริงนิวส์ – ดำเนินการโดย บริษัท สปริง คอร์ปอเรชั่น จำกัด ออกอากาศผ่านดาวเทียม และทางอินเทอร์เน็ต www.springnewstv.tv (5 มีนาคม พ.ศ. 2553)
* สถานีโทรทัศน์ เนชั่น แชนแนล – ดำเนินการโดย บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัทในเครือ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันออกอากาศทาง สถานีวิทยุโทรทัศน์ไททีวี ช่องสัญญาณที่ 1 และเป็นช่องรายการในสถานีโทรทัศน์เคเบิลในส่วนภูมิภาค (1 มิถุนายน พ.ศ. 2543)
* สถานีโทรทัศน์เอเชียแซตเทลไลต์ (เอเอสทีวี) (เดิมคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11/1 หรือ 11 นิวส์ วัน ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2546) – ดำเนินการโดย บริษัท ไทยเดย์ ดอตคอม จำกัด ในเครือ ผู้จัดการ ออกอากาศผ่านระบบดาวเทียม และเป็นช่องรายการในโทรทัศน์เคเบิลส่วนภูมิภาค โดยเมื่อแรกก่อตั้ง มีจำนวนทั้งสิ้น 6 ช่องรายการ ปัจจุบันมีเพียงสถานีข่าวช่องเดียว
* สถานีโทรทัศน์ ธรรมะ มีเดีย แชนแนล – ดำเนินการโดย มูลนิธิศึกษาธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ของวัด พระธรรมกาย ส่งสัญญาณออกอากาศผ่านดาวเทียม
* จิวเวลรี่แชนแนล – ดำเนินการโดย บริษัท โทโมดาจิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีเนื้อหาเกี่ยวกับอัญมณี เพชร พลอย และเครื่อง ประดับ ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการสนับสนุนของ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
* ซุเปอร์เช็งทีวี

สถานีโทรทัศน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

* สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ภาคภาษาอังกฤษ – ดำเนินการโดย สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และ สำนักข่าวแห่งชาติ เป็นสถานีโทรทัศน์ข่าวสารเสนอแบบภาษาอังกฤษ ออกอากาศผ่านทางเว็บไซต์ สำนักข่าวแห่งชาติ [1] (พ.ศ. 2551)
* ทีวีร้อยช่อง – ดำเนินการโดย พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 23 เบื้องต้นนำเสนอการเรียนสอนทางไกล โดยอาจารย์ผู้ เชี่ยวชาญ, ถ่ายทอดวิถีชีวิตจริงของชาว ไทยที่มีฐานะยากจน และโฆษณาสินค้าในโครงการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จากทั่วประเทศ www.100channelstv.com

5. สถานีโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาค

ดูบทความหลักที่ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ส่วนภูมิภาค

กรมประชาสัมพันธ์ ริเริ่มโครงการก่อตั้ง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย เครือข่ายในส่วนภูมิภาค จำนวน 12 แห่ง ทั่วประเทศ ในจังหวัดต่างๆ ดังต่อไปนี้ จังหวัดกาญจนบุรี [2], จังหวัดขอนแก่น [3], จังหวัดจันทบุรี [4], จังหวัดเชียงใหม่ [5], จังหวัดนครศรีธรรมราช, จังหวัดพิษณุโลก [6], จังหวัดภูเก็ต, จังหวัดยะลา, จังหวัดระยอง, จังหวัดสงขลา [7], จังหวัดสุราษฎร์ธานี [8] และ จังหวัดอุบลราชธานี [9]
6. สถานีโทรทัศน์ในอดีต
6. 1. สถานีโทรทัศน์แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายของรัฐบาล

* สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 – ดำเนินการโดย บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกในประเทศไทย และในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 – พ.ศ. 2517) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ในระยะสั้น ๆ (พ.ศ. 2517-8 เมษายน พ.ศ. 2520) ก่อนจะโอนกิจการไปเป็นของ อ.ส.ม.ท.
* สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 – ดำเนินการโดย กองทัพบก (25 มกราคม พ.ศ. 2501 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2517) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5
* สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. – ดำเนินการโดย องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (9 เมษายน พ.ศ. 2520 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์

6. 2. สถานีโทรทัศน์แห่งชาติ

* สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 – ดำเนินการโดย กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติของประเทศไทย ออกอากาศในระบบวีเอชเอฟ ทางช่องที่ 11 จากเครื่องส่งของ สทท.กรุงเทพ มหานคร[2] ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531-1 เมษายน พ.ศ. 2551)

6. 3. สถานีโทรทัศน์เสรี

* สถานีโทรทัศน์ไอทีวี – ดำเนินการโดย บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในรูปแบบสถานี โทรทัศน์เสรี ออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ช่องสัญญาณที่ 26 และเปลี่ยนเป็นช่องสัญญาณที่ 29 ต่อมา รัฐบาลยึดคืนเครื่องส่งโทรทัศน์และคลื่นความถี่ เนื่องจาก บมจ.ไอทีวี ไม่สามารถจ่ายค่าสัมปทาน และค่าปรับตามที่กำหนด จึงเปลี่ยนชื่อเป็นสถานี โทรทัศน์ทีไอทีวี (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2550)
* สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี – ดำเนินการโดย กรมประชาสัมพันธ์ ภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ช่องสัญญาณที่ 29 ยุติการออกอากาศเนื่องจากพระ ราชบัญญัติองค์การ กระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ จากการประกาศในราช กิจจานุเบกษา และทำให้สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี ต้องดำเนินการเปลี่ยนผ่านไปสู่สถานีโทรทัศน์สาธารณะ ตามกฎหมายดังกล่าว แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น ทีพีบีเอส ไทยพีบีเอส และกลายเป็น สถานีโทรทัศน์ทีวีไทยในที่สุด (8 มีนาคม พ.ศ. 2550 – 14 มกราคม พ.ศ. 2551)

6. 4. สถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาค

* สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดลำปาง – ดำเนินการโดย สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 กรมประชาสัมพันธ์ ต่อมา สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 ย้ายที่ทำการจากจังหวัด ลำปาง ไปสู่จังหวัดเชียงใหม่ ส่งผลให้ต้องเปลี่ยนแปลงคลื่นความถี่ในการออกอากาศ และปรับปรุงระบบการบริหารงาน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ (2 เมษายน พ.ศ. 2505 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2543)
* สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดระยอง – ดำเนินการโดย สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 กรมประชาสัมพันธ์ ต่อมา สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 ย้ายที่ทำการจากจังหวัด ระยอง ไปสู่จังหวัดจันทบุรี ส่งผลให้ต้องเปลี่ยนแปลงคลื่นความถี่ในการออกอากาศ และปรับปรุงระบบการบริหารงาน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดจันทบุรี (พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2542)

6. 5. สถานีโทรทัศน์ระบบบอกรับเป็นสมาชิก

* สถานีโทรทัศน์เคเบิลไอบีซี – ดำเนินการโดย บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือ บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ อ.ส.ม.ท. ปัจจุบันรวมกิจการกับ บริษัท ยูทีวี เคเบิล เน็ทเวิร์ค จำกัด (มหาชน) แล้ว (17 เมษายน พ.ศ. 2532 – พฤษภาคม พ.ศ. 2541)
* สถานีโทรทัศน์ยูทีวีเคเบิลเน็ทเวิร์ค – ดำเนินการโดย บริษัท ยูทีวี เคเบิล เน็ทเวิร์ค จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือ บริษัท เทเลคอม เอเชีย คอร์ปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ อ.ส.ม.ท. ต่อมาได้รวมกิจการกับ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีโทรทัศน์ยูบีซีเคเบิลทีวี (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 – พฤษภาคม พ.ศ. 2541)
* สถานีโทรทัศน์ไทยสกาย – ดำเนินการโดย บริษัท สยาม บรอดแคสติ้ง จำกัด บริษัทในเครือ ธนายง ภายใต้สัมปทานกับ อ.ส.ม.ท. ปัจจุบันยุติการออกอากาศแล้ว เนื่องจากวิกฤตการณ์ เศรษฐกิจและการเงินในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2540
* สถานีโทรทัศน์เคเบิลยูบีซี – ดำเนินการโดย บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ อ.ส.ม.ท. ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีโทรทัศน์ยูบีซี-ทรูเคเบิลทีวี (พฤษภาคม พ.ศ. 2541 – 9 มกราคม พ.ศ. 2549)
* สถานีโทรทัศน์เคเบิลยูบีซี-ทรู – ดำเนินการโดย บริษัท ยูบีซี-ทรู จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ บมจ.อสมท ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีโทรทัศน์เคเบิลทีวีทรูวิชั่นส์ (9 มกราคม พ.ศ. 2549 – 23 มกราคม พ.ศ. 2550)
* สถานีโทรทัศน์พีทีวี – ดำเนินการโดย บริษัท เพื่อนพ้องน้องพี่ จำกัด ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตรายการร่วมกับสถานีประชาธิปไตย (พ.ศ. 2550-พ.ศ. 2551)
* สถานีประชาธิปไตย – ดำเนินการโดย บริษัท ดี สเตชั่น จำกัด (19 มกราคม-12 เมษายน พ.ศ. 2552)